|
 |
โครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตฯ |
|
|
|
 |
P6 : แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน วทน. |
 |
|
แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนา
ของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน.
|
► รายละเอียดโครงการ
|
รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเป็นจำนวนมากให้แก่โครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและมีความคาดหวังว่าโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนไปแล้วนั้น จะสามารถช่วยยกระดับการวิจัย และสามารถช่วยภาคเอกชน/ผู้ประกอบการได้อีกด้วย สป.อว. ได้เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 3 ภูมิภาคหลัก ทั้งภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปจนถึงด้านสังคมที่พร้อมจะสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมภายใต้ความพร้อมของสถาบันการศึกษา ทั้ง บุคลากร อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการในสาขาวิชาที่ หลากหลาย มีความพร้อมในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของบริบทโลกให้สามารถเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน อันจะนำไปสู่การผลักดันรายได้ต่อหัวของประชาชนในภาคการผลิตและบริการ ให้เพิ่มขึ้นผ่านการขับเคลื่อนของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาค ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เข้าถึงองค์ความรู้ และเทคโนโลยี นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ลดการกระจุกตัวการพัฒนา โดยกลไก อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม (University-Industry Linkage) ส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงต่อยอดงานวิจัยและองค์ความรู้ใน มหาวิทยาลัยไปสู่ชุมชนในปลายน้ำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยขยายกำลังการให้บริการจาก 14 มหาวิทยาลัยเป็น 40 มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนสังคมฐานนวัตกรรม โดยการดำเนินงานตามแผนงานใหม่ข้างต้นได้ออกแบบให้มีความ สอดคล้องกับภารกิจหลักของกระทรวงการอุดมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างลงตัว และ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และ ภาครัฐ รวมถึงช่วยประสานพลังความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานระดับผู้ให้ทุน ผู้สนับสนุนนโยบาย เพื่อให้เกิด การพัฒนาเชิงพื้นที่อันจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
|
► วัตถุประสงค์
|
1. เพื่อยกระดับความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม
2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม ผ่านการใช้ประโยชน์ของ ทรัพยากรในสถาบันการศึกษา
3. เพื่อสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำของภาคเอกชน/ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากภูมิปัญญาผสมผสานกับ เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่
4. เพื่อสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
|
► งบประมาณที่ได้รับสนับสนุน ปี 2563 |
แผนงานการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ววน
ประจำปีงบประมาณ 2563 |
ที่ |
Track |
งบสนุบสนุนรอบที่1 1,100,000 บาท |
ของบสนับสนุน |
1 |
1 |
โรงอัดก้อนยาง สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองโตนพัฒนา จำกัด |
102,000 |
2 |
1 |
ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดพัทลุง จำกัด |
101,750 |
3 |
1 |
บริษัท พรีเมียร์ซิสเต็มเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด |
32,200 |
4 |
1 |
บริษัท แปซิฟิค รับเบอร์เวิร์คส์ จำกัด |
36,000 |
5 |
1 |
บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด |
70,000 |
6 |
1 |
บริษัท ไซเก้นไฮมาค จำกัด |
73,000 |
7 |
1 |
บริษัท แปลนครีเอชั่นส์ จำกัด |
102,000 |
8 |
1 |
หจก. กระบี่ลาแทกซ์ |
100,000 |
9 |
1 |
บริษัท เคมเมิร์จ (ไทยแลนด์) จำกัด |
100,000 |
10 |
1 |
บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด |
100,000 |
11 |
2 |
บริษัท แอดวานซ์ เทคโนเคม จำกัด |
328,550 |
12 |
2 |
บริษัท 9 จันทร์ (ประเทศไทย) จำกัด
(ผลการดำเนินงานน้อยกว่า 65%) |
100,920 |
13 |
2 |
บริษัท แปลนครีเอชั่นส์ จำกัด |
128,000 |
14 |
2 |
บริษัท แอดวานซ์ เทคโนเคม จำกัด |
252,500 |
|
รวม |
1,100,000 |
|
► ข้อมูลติดต่อเจ้าหน้าที่
|
ผู้ประสานงานโครงการ นางสาวธมลวรรณ จูมิ
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทรัพย์สินทางปัญญา
โทรศัพท์มือถือ 083-3989072
E mail thamonwan74jumi@gmail.com
ผู้ประสานงานโครงการ นายฐาณพัฒน์ คงพัฒน์ ตำแหน่งนักพัฒนาธุรกิจ
โทรศัพท์มือถือ 065-0340696 E mail niykab@gmail.com
|
|
|
|
|
|